merotan pelajar mengikut persepektif Islam

การลงโทษนักเรียนด้วยการตีตามทัศนะของอิสลาม
เขียนโดย   อิบรอเฮ็ง    สาและ
นักศึกษา ป.โท ( การสอนอิสลามฯ )

            นักจัดการศึกษาทุกวันนี้ต่างก็ถกถียงในประเด็นการลงโทษนักเรียน นักศึกษาด้วยการตี   อภิปรายในเรื่องบทบาทของครูในการลงโทษนักเรียน  วิธีการและหลักการในการลงโทษนักเรียน และอีกมากมายที่ เป็นแนวทางการรับมือกับนักเรียนที่มีปัญหา เกเร  ไม่ทำตามกฎระเบียบของโรงเรียน และ อื่นๆ  
ในระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทย เดิมทีอนุญาตให้ครูอาจารย์ลงโทษนักเรียนด้วยการตี เพียงเพื่ออบรมสั่งสอนให้เขาเป็นคนดี  กระทรวงศึกษาธิการได้มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  พ.ศ.2515  และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2522  ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่  132  กำหนดวิธีการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ที่ ประพฤติหรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ      ของสถานศึกษา  ให้ลงโทษตั้งแต่  ว่ากล่าว  ตักเตือนเฆี่ยน  ทำทัณฑ์บนสั่งพักการเรียน  ให้ออกจนถึง คัดชื่อออก    สำหรับการเฆี่ยน  ให้เฆี่ยนด้วยไม้เรียว  เหลากลม  ผิวเรียบ  เส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่เกิน  0.7  เซนติเมตร  ที่บริเวณก้นหรือขาอ่อนท่อนบนด้านหลัง  ซึ่งมีเครื่องแต่งกายรับรอง  กำหนด  การเฆี่ยนไม่เกิน  6  ที   การเฆี่ยนต้องทำในที่ไม่เปิดเผย  และในลักษณะเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนให้เข็ดหลาบ แต่ทุกวันนี้ครูอาจารย์ไม่มีอำนาจลงโทษนักเรียนด้วยการตีหรือเฆี่ยนได้ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  พ.ศ.2543)  และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ.2548  กำหนดให้มีการลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาใหม่  คือ 1) ว่ากล่าวตักเตือน      2) ทำทัณฑ์บน     3) ตัดคะแนนความประพฤติ      4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  (ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548)  ดังนั้น  การลงโทษของครูบาอาจารย์  ที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษา  ต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  จะไปลงโทษนอกเหนือจากระเบียบที่กำหนดไว้ไม่ได้ ถือว่าไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะทำได้ (ดร.สมชาย  สังข์สี.แนวทางการลงโทษนักเรียน. เข้าถึงได้ www.  [ออนไลน์] สืบค้นข้อมูลเมื่อ 25 เมษายน2553)
ในการจัดการเรียนการสอนตามทัศนะของอิสลาม  ครูมีหน้าที่อบรมสั่งสอน บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม ให้นักเรียนเป็นคนดี เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว และสังคม เป็นบ่าวที่ดีของอัลเลาะฮฺ ครูเป็นเสมือนพ่อแม่คนที่สองของนักเรียนนักศึกษา ฉะนั้นพันธะและความรับผิดชอบของครูไม่ต่างจากหน้าที่และความรับผิดชอบของพ่อแม่เลยแม้แต่นิดเดียว  ครูจึงต้องส่งเสริมให้กระทำความดี และลงโทษเมื่อนักเรียนได้กระทำความผิด  ท่านรอซูลได้ตรัสในวัจนะของท่านบทหนึ่งว่า
مروا أولادكم بالصلاة لسبع واضربوهم عليها لعشر وفرِّقوا بينهم في المضاجع
ความว่า  ท่านจงใช้ให้บรรดาลูกๆของท่านละหมาดเมื่อมีอายุครบ 7 ปี และจงตีเขา (หากเขาไม่ละหมาด) เมื่อมีอายุครบ 10 ปี และจงแยกที่นอนระหว่างพวกเขา
 จากหะดิษข้างต้นท่านรอซูลได้กำชับให้สั่งสอนเด็กที่มีอายุ 10 ปีที่ไม่ละหมาดโดยการตี จากประเด็นนี้เราสามารถเทียบเคียงโดยการตีเป็นการลงโทษนักเรียนที่ผิดระเบียบ   การตีนักเรียนด้วยวัตถุประสงค์เพื่ออบรม สั่งสอน บ่มเพาะคุณธรรม คุณธรรม สามารถกระทำได้ภายใต้ขอบเขตที่อิสลามกำหนด  
ในทัศนะของอิสลาม การอบรมสั่งสอนลูกนั้น จะยังคงอยู่กับลูกต่อไปตราบที่เขายังมีชีวิตอยู่ เช่นเดียวกันกับการสั่งสอน อบรมลูกศิษย์  อัลเลาะฮฺได้ตรัสไว้ ความว่า ‘....จงปกป้องตัวของสูเจ้าเอง และครอบครัวของสูเจ้าจากไฟนรก …’ (อัลกุรอาน.66 : 6)
ดังนั้น การปกป้องตัวของท่านเอง และครอบครัวของท่านจากนรก หมายถึง "การเตือนพวกเขาให้นึกถึงนรก และยับยั้งจากการประสบกับไฟนรก ท่านต้องอบรมลูกๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ประกอบด้วย การอบรมสั่งสอน, การเตือน, การสำทับ, การตี, การยับยั้งขัดขวาง, การให้รางวัล และการมีใจเมตตา การให้การอบรมของบุคคลผู้ซึ่งเป็นคนดีที่มีเกียรตินั้น แตกต่างจากการให้การอบรมคนเลวที่ต่ำทราม
 ( อ้างจาก ฟัยฎฺ อัล กอดีรฺ 5 /157)
การตี เป็นวิธีการหนึ่งในการทำโทษ หรือแก้ไขพฤติกรรม (ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดี) ของเด็ก ๆ การตีนั้น ในตัวมันเองเป็นสิ่งที่เราทั้งต้องการและไม่ต้องการ ยิ่งกว่านั้น ในบางกรณีมันจะดีกว่าที่จะหันมาอาศัยวิธีนี้
มีระบบการลงโทษในอิสลาม และมีการลงโทษที่หลากหลายรูปแบบ เช่น ฮัดดฺ เป็นการลงโทษการทำผิดประเวณี การขโมย และการพูดให้ร้ายผู้อื่นเป็นต้น กฎเหล่านี้ถูกกำหนดมาเพื่อที่จะทำให้ผู้คน อยู่ในหนทางที่เที่ยงตรง และหยุดการกระทำที่ไม่ดีของเขา และที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
ท่านรอซูล ได้สั่งเสียพ่อแม่ ให้ยับยั้งป้องกันบุตรหลานจากการกระทำในสิ่งผิด จากอิบนุอับบาสว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺกล่าวว่าจงแขวนแส้ของท่านไว้ในที่ที่สมาชิกในครอบครัวสามารถมองเห็นมันได้ แท้จริงมันเป็นการอบรมพวกเขา (อย่างหนึ่ง)รายงานโดยท่านฏ็อบรอนีย์ 248/10 และฮาดิษนี้ ถูกจัดเป็นฮาดิษฮาซัน โดยท่านฮัยษามีในมัจญมะอฺ อัซซะวาอิด 106 /8 และท่านอัล อัลบานีย์ กล่าวไว้ในศอฮิหฺอัลญามิอฺว่า เป็นฮะดีษฮซัน
เพราะฉะนั้น การอบรม เป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างการกำชับให้กระทำความดี ( ตัรฮีบ) และการสำทับให้ออกจากความชั่ว (ตัรฆีบ) และสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบทั้งหมดก็คือ การสร้างหรือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่เขาอาศัยให้อยู่ในสภาพที่ดี โดยการจัดเตรียมวิธีการที่พวกเขาจะได้รับทางนำได้ วิธีการนี้ คือ ผู้ให้การอบรมเลี้ยงดู, ผู้รับผิดชอบ รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆนั้น ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในศาสนา (http://www.muslimahtoday.net/index.php สืบค้นข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552 )
ดร.สุพักตร์ พิบูลย์  อาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกล่าวว่า 
การตี เป็นวิธีการควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน วิธีหนึ่ง และ การชมเชย/การเสริมแรง ก็เป็นกระบวนการควบคุมพฤติกรรม เช่นกัน แต่ทำได้ยากและท้าทายกว่า เพราะบางทีเราไม่คุ้นเคย  ครูตีเด็กได้ ถ้าเรามั่นใจว่า "ลูกศิษย์ดูออกว่าเรารักเขาอย่างจริงใจ ทุ่มเททุกอย่างเพื่อเขาตลอดเวลา" การตี จะไม่มีการเพาะบ่มความแค้นเลยในกรณีนี้ แต่ถ้าเราไม่มีเวลาดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด และ นักเรียนดูไม่ออกว่า เรารัก-ห่วงใยเขาอย่างจริงใจ ในกรณีนี้ การตี จะเป็นการเพาะบ่มความคับข้องใจ ความแค้น เมื่อมีโอกาส เด็กจะแสดงพฤติกรรมความรุนแรงได้(ดร.สุพักตร์พิบูลย์ [ออนไลน์] เข้าถึงได้ http://gotoknow.org/blog/ sup004/181541  สืบค้นข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552 )
ในอิสลามสิ่งที่ครูควรระวัง คือ ในการตีเด็กแต่ละครั้งควรจะนับจำนวนที่ตีด้วย โดยการตีไม่ควรเกินสิบทีหรือสิบไม้ เว้นแต่ในกรณีการลงโทษทางอาญา(ฮุดูด) รายงานจากอะบีบะรฺดะฮฺ อัลอันศอรี ว่า ได้ยินท่านเราะซูลุลลอฮฺกล่าวว่า...
" لا يُجلد أحدٌ فوق عشرة أسواط إلا في حد من حدود الله "
            ความว่าเจ้าอย่าตีคนใดคนหนึ่งเกินกว่าสิบที เว้นแต่ในเรื่องที่อัลลอฮฺได้กำหนด(ฮุดูด)บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ที่ 6456 และมุสลิมที่ 3222   ในอีกหะดิษหนึ่งท่านรอซุล ได้ตรัสว่า
" لا عقوبة فوق عشر ضربات إلا في حدٍّ من حدود الله "
             ความว่าอย่าลงโทษเกินกว่าตีสิบที เว้นแต่ในเรื่องที่อัลเลาะฮฺได้กำหนด(http://www.almustofa.com/index.php?option=com  สืบค้นข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552 )
นักจิตวิทยาสำหรับเด็กกล่าวว่า  วัยเด็กๆ เป็นวัยคิด พวกเขากำลังเริ่มเปิดโลกเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่บางครั้งเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น การตีลูก ดุว่ากลับส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูก ยิ่งเด็กวัยนี้กำลังมีสังคม มีเพื่อนใหม่ ต้องเข้าโรงเรียน การสร้างมาตรฐานการลงโทษให้กับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็น และยังเป็นการปูทางไปสู่พัฒนาการที่ดีในอนาคตได้ด้วย  การตีลูก 1 ที หรือดุว่าลูก 1 คำ บาดแผลนั้นยังติดอยู่ในใจเด็กอยู่นานและยากจะลบเลือน โดยเฉพาะหากเด็กๆ ได้รับการลงโทษที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ยังเล็ก พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ก็อาจให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
ในบางครั้งการลงโทษอย่างรุนแรง ขาดเหตุผล เป็นสาเหตุให้เด็กยิ่งก้าวร้าว เพราะอาจจะทำให้เด็กคิดว่าทุกคนกำลังไม่ชอบเขา จึงแสดงพฤติกรรมต่อต้าน ดื้อด้าน ไม่ว่าจะเป็นการกรีดร้อง โดนตีเบาๆ ก็ไม่เชื่อ โดนตีหนักก็วิ่งหนีไปเลยก็มี  ในทางกลับกัน เด็กบางคนรู้สึกเฉยชา ไม่รู้ร้อนรู้หนาวเมื่อถูกทำโทษเลยก็มี รวมไปถึงมีพฤติกรรมเพื่อป้องกันตนเอง เช่น การโกหก พูดปดเพื่อไม่ให้ตนเองถูกลงโทษ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงล้วนส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในระยะยาวของลูก ที่อาจเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่นิยมความรุนแรง พูดปดเพื่อเอาตัวรอด หรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน เป็นต้น ( นิตยสารดวงใจพ่อแม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 115 พฤษภาคม 2548 [ ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก  http://www.elibonline.com/ doctors48/ child_punish001_04.html สืบค้นข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552 )
ในประเทศมาเลเซีย  รัตมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  Datuk Dr. Wee Ka Siong ตอบกระทู้ของ  Senator Fatimah Hamat  ในสภาว่า  
ทางกระทรวงศึกษาธิการกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะกลับมาใช้บทวินัย 1959 ที่กำหนดมาตรการลงโทษด้วยการตี นักเรียนที่ก้าวร้าว และปฏิบัติผิดระเบียบของโรงเรียน รวมถึงจะกำหนดบุคคลที่มีอำนาจในการตี และสถานที่ที่เหมาะสมในการตี(Berita Harian Online (7 April 2009) เข้าถึงได้     http://aki2004.wordpress.com/2009/04/23/cara-rotan-anak/ สืบค้นข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552 )

            นักวิชาการอิสลามท่านหนึ่งชื่อว่า Abdullah Naseh Ulwan  ได้กล่าวในหนังสือของท่านที่ชื่อ                 ว่า การอบรมลูกในทัศนะของอิสลาม ( Tarbiah al-Aulad fi al-Islam) ว่า การตีมีหลักการในเวลาก่อนลงมือและในในคณะลงมือเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งของการอบรมตามทัศนะอิสลามดังนี้ คือ
1.      พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ให้การสั่งสอนต้องหาวิธีการกล่าวตักเตือนด้วยวาจาก่อน  หากไม่ได้ผลจึงใช้การตีเป็นวิธีการสุดท้าย
2.      ไม่ตีลูกในเวลาที่มีอารมโมโหอย่างจัด  เพราะอาจทำให้ลูกไก้รับอันตราย
3.      ไม่ตีลูกในพื้นที่ที่เป็นอันตราย เช่น ใบหน้า  หัว  หน้าอก และหน้าท้อง
4.      การตีครั้งแรกควรตีที่มือ หรือส่วนขาจำนวน 1 ที หากไม่เป็นผลสามารถเพิ่มได้เป็น 3 ที  และสูงสุดไม่เกิน 10 ที่ตามที่หะดิษท่านรอซูลได้ตรัสไว้
5.      ไม่ควรตีลูกที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี
6.      เมื่อลูกๆขอร้องไม่ให้ตีในการทำความผิดครั้งแรก  ควรไม่ตีเขาและให้การอบรม ตักเตือนด้วยวาจา นั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า
7.      ผู้ปกครองควรตีลูกๆที่ทำความผิดด้วยตนเอง ไม่ควรมอบให้พี่หรือน้อง ( ของผู้ที่ถูกตี ) ทำการแทน เพราะอาจเกิดความบาดหมางในหมู่พวกเขา
8.      เมื่อลูกๆได้บรรลุนิติภาวะให้ลงโทษด้วยการตีให้ถี่ขึ้น เพื่อเขาสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น  (Abdullah Naseh Ulwan.2539. Tarbiah al-Aulad fi al-Islam [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://afats11.blogspot.com/2009/08/rahsia-rotan.html สืบค้นข้อมูลเมือ 14ธันวาคม 2552 )
อิบนูฮายัร  อัลไฮตามีย์  นักปราชญ์ศาสนบัญัติ ได้กำหนดหลักการในการตีนักเรียนไว้ 3 หลักการคือ       1. ต้องได้รับการยินยอมจากพ่อแม่นักเรียนหรือผู้ปกครอง
2. ต้องมั่นใจอย่างน้อย 70%ว่าการตีสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนได้
3. นักเรียนที่จะตีนั้นต้องไม่เป็นเด็กจนเกินไป  ( http://harakahdaily.net/index.php [อนนไลน์] สืบค้นข้อมูลเมือ 25 เมษายน 2553 )



สรุป
            ในอิสลามการตีเป็นการลงโทษวิธีการหนึ่ง ที่สามารถทำได้ในขอบเขตที่จำกัด แต่ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดที่ครู ผู้ปกครองต้องนำมาใช้ในการสั่งสอน อบรม  บ่มเพาะคุณธรรมจริยธรรม หรือ แม้แต่การลงโทษทางวินัย เพราะการตีอาจจะเปลี่ยนเป็นสิ่งต่อไปนี้แทนเมื่อเห็นว่ามีผลต่อพฤติกรรมของเด็กที่ดีกว่า
·         ใช้คำชมเพื่อสร้างกฎ เช่น หนูทำดีมากที่แบ่งของให้เพื่อนเล่นมากกว่ามาลงโทษภายหลังที่ลูกหรือนักเรียนไม่ยอมให้เพื่อนเล่น
·         ใช้วิธีการเสริมแรงทางบวกหรือทางลบ เพื่อส่งเสริมหรือยับยั้งพฤติกรรม
·         สร้างกติกาขึ้นภายในห้องเรียน เช่น ถ้านักเรียนช่วยงานครูจะได้ดาว 1 ดวง ถ้ามำผิดจะยึดดาวคืนและถ้าดาวครบ 10 ดวง นักเรียนจะได้หนังสือนิทาน 1เล่มเป็นต้น
·         อย่าชื่นชมลูกหรือนักเรียนในทางที่ผิด เช่น ชื่นชมที่ลูกแย่งของเล่นจากเพื่อนมาได้
·         กติกาในบ้านเป็นสิ่งที่ทั้งครอบครัวควรทำเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่ว่าลูกรังแกคนอื่น ถูกพ่อและแม่ดุแต่ตากับยายไม่ว่าอะไร เป็นต้น
·         Time out เป็นวิธีการที่ดีสำหรับเด็กวัยนี้ การแยกนักเรียนให้อยู่คนเดียวเพื่อทบทวนสิ่งผิด หรือให้งดกิจกรรมที่คุ้นเคย เช่น การดูทีวี เล่นเกมสามารถปรับปรุงพฤติกรรมของเขาได้
·         การเพิกเฉย ไม่สนใจบ้าง อาจช่วยกำราบอาการโวยวาย เวลาลูกลงไปชักดิ้นชักงอ อยากได้ตุ๊กตาตัวใหม่กลางห้างสรรพสินค้า หรือเวลาเขาขว้างปาข้าวของเกลื่อนกลาดบ้านได้ แต่มีข้อแม้ว่าคุณแม่ต้องเพิกเฉยอย่างสม่ำเสมอและหลังจากลูกสงบก็เรียกลูกไปอธิบายด้วย
o    จริงแล้วการตี(หรือการลงโทษ)ไม่ใช่วิธีการเดียวที่จะกระตุ้นให้เด็กขยันในการอ่านหนังสือ ครูควรจะผสมผสานกันระหว่างวิธีการเสริมแรงและการลงโทษเพื่อให้ได้สิ่งที่พึงประสงค์ เช่น ชมเชยนักเรียนเรียนดีและสนับสนุนเขาด้วยการให้รางวัลหรือให้คะแนนที่สูง ส่วนนักเรียนที่ยังไม่เป็นตามที่พึงประสงค์ให้ลงโทษเขาด้วยการให้คะแนนน้อยกว่าที่คนทำดี และพูดว่ากล่าวเป็นการคาดโทษ เป็นต้น  
·         ถ้าจำเป็น ลงโทษทุกครั้งที่ลูกหรือนักเรียนทำผิดทันที ตามกติกาที่ตกลงไว้ อย่าลืมให้รางวัลเมื่อลูกทำความดีด้วย




บรรณานุกรมรม
1.        สมาคมนักเรียนไทย . อัลกุรอานแปลไทย [ ออนไลน์]
3.        ดร.สุพักตร์พิบูลย์ [ออนไลน์] เข้าถึงได้ http://gotoknow.org/blog/ sup004/181541  สืบค้น
                    ข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552
1.4.  Berita Harian Online (7 April 2009) เข้าถึงได้  http://aki2004.wordpress.com/ 
                    cara- rotan-anak/ สืบค้นข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552
5.        Abdullah Naseh Ulwan.2539. Tarbiah al-Aulad fi al-Islam [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
6.         นิตยสารดวงใจพ่อแม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 115 พฤษภาคม 2548 [ ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก
                  http://www.elibonline.com/ doctors48/ child_punish001_04.html
                  สืบค้นข้อมูลเมือ 14 ธันวาคม 2552
7.        ดร.สมชาย  สังข์สี.แนวทางการลงโทษนักเรียน. เข้าถึงได้ www.  [ออนไลน์] สืบค้นข้อมูลเมื่อ
                 25 เมษายน2553
8.        http://harakahdaily.net/index.php [ออนไลน์] สืบค้นข้อมูลเมือ 25 เมษายน 2553

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิติธรรมอิสลาม ( Qiyas)

การลงโทษนักเรียนด้วยการตีตามทัศนะของอิสลาม

นิติธรรมอิสลาม (ijma')