บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2012

นิติธรรมอิสลาม ( Qiyas)

อัล-กิยาส Ibrahim   Saleh Ph.D. Muamalat Islam. UMT อัล-กิยาส หมายถึง การนำข้อปัญหาที่ไม่มีตัวบทระบุถึงข้อชี้ขาดทางศาสนาไปเปรียบเทียบกับข้อปัญหาที่มีตัวบทระบุถึงข้อชี้ขาดทางศาสนาเอาไว้แล้ว เนื่องจากทั้ง 2 ข้อปัญหานั้นมีเหตุผลในข้อชี้ขาดร่วมกัน             เมื่ออัลกุรอาน   อัลซุนนะฮฺ และอัลอิจญมะอฺ ได้ชี้ขาดต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง และอุลามะฮฺในระดับ มุจตาฮิด ได้ทราบถึงเหตุผลในข้อชี้ขาด ต่อมาได้พบประเด็นอื่นๆที่คล้ายกันหรือเหมือนกันในเหตุผล แต่ไม่มีการชี้ขาดจากหลักฐานอันเป็นตัวบท จึงมีการกียาส (เปรียบเทียบ )ขึ้น             ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่อิสลามได้ห้ามการดื่มสุรา ที่ปรากฏหลักฐานในอัลกุรอาน ตามที่อัลเลาะฮฺได้ตรัสว่า يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنْصَابُ وَالأَزْلامُ رِجْسٌ مِنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ  فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ความว่า “   ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นห...

merotan pelajar mengikut persepektif Islam

การลงโทษนักเรียนด้วยการตีตามทัศนะของอิสลาม เขียนโดย    อิบรอเฮ็ง     สาและ นักศึกษา ป.โท ( การสอนอิสลามฯ )             นักจัดการศึกษาทุกวันนี้ต่างก็ถกถียงในประเด็นการลงโทษนักเรียน นักศึกษาด้วยการตี    อภิปรายในเรื่องบทบาทของครูในการลงโทษนักเรียน   วิธีการและหลักการในการลงโทษนักเรียน และอีกมากมายที่ เป็นแนวทางการรับมือกับนักเรียนที่มีปัญหา เกเร   ไม่ทำตามกฎระเบียบของโรงเรียน และ อื่นๆ   ในระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทย เดิมทีอนุญาตให้ครูอาจารย์ลงโทษนักเรียนด้วยการตี เพียงเพื่ออบรมสั่งสอนให้เขาเป็นคนดี   กระทรวงศึกษาธิการได้มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา   พ.ศ. 2515  และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2522  ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่   132  กำหนดวิธีการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ที่ ประพฤติหรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ       ของสถานศึกษา   ให้ลงโทษตั้งแ...